วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555


◕‿◕ ความหมายของนวัตกรรม ◕‿◕ 

                   นวัตกรรม หมายถึงการทำสิ่งต่างๆด้วยวิธีใหม่ๆและยังอาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางความคิด การผลิต กระบวนการ หรือองค์กร ไม่ว่าการเปลี่ยนนั้นจะเกิดขึ้นจากการปฏิวัติ การเปลี่ยนอย่างถอนรากถอนโคน หรือการพัฒนาต่อยอด ทั้งนี้ มักมีการแยกแยะความแตกต่างอย่างชัดเจน ระหว่างการประดิษฐ์คิดค้น ความคิดริเริ่ม และนวัตกรรม อันหมายถึงความคิดริเริ่มที่นำมาประยุกต์ใช้อย่างสัมฤทธิ์ผล (Mckeown, 2008) และในหลายสาขา เชื่อกันว่าการที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งจะเป็นนวัตกรรมได้นั้น จะต้องมีความแปลกใหม่อย่างเห็นได้ชัด และไม่เป็นแค่เพียงการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เป็นต้นว่า ในด้านศิลปะ เศรษฐศาสตร์ เศรษฐกิจ และนโยบายของรัฐในเชิงเศรษฐศาสตร์นั้น การเปลี่ยนแปลงนั้นจะต้องเพิ่มมูลค่า มูลค่าของลูกค้าหรือมูลค่าของผู้ผลิต เป้าหมายของนวัตกรรมคือการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก เพื่อทำให้สิ่งต่างๆเกิดเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นนวัตกรรมก่อให้ได้ผลิตผลเพิ่มขึ้น และเป็นที่มาสำคัญของความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ นวัตกรรมเป็นหัวข้อหลักในการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ และวิศวกรรม และหากพูดกันแบบภาษาชาวบ้านแล้ว คำว่า 'นวัตกรรม'มักจะหมายถึงผลลัพธ์ของกระบวนการและในฐานะที่นวัตกรรมมักจะได้รับการยกย่องว่าเป็นกลไกสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจ ปัจจัยที่นำไปสู่นวัตกรรม มักได้รับความสำคัญจากผู้ออกนโยบายว่าเป็นเรื่องวิกฤต ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในสาขาใดสาขาหนึ่งมักจะเรียกว่าเป็นผู้บุกเบิกในสาขานั้น



☁☂☃☄ ประเภทของนวัตกรรม ☁☂☃☄

     1. แบ่งตามลักษณะของการสร้างนวัตกรรม
                  • นวัตกรรมส่วนเพิ่ม (incremental innovation)
                 • นวัตกรรมที่เพิ่งค้นพบ (breakthrough innovation)
      2. แบ่งการใช้นวัตกรรม
                  • นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (Product Innovation) 
                  • นวัตกรรมกระบวนการ (Process Innovation)

            
°o.O_O.o°   เทคโนโลยีสารสนเทศ (information technology) หรือที่เรียกว่า ไอที มีผู้ให้คำนิยามไว้อย่างหลากหลาย เช่น หมายถึง ความรู้ในผลิตภัณฑ์หรือในกระบวนการดำเนินงานใด ๆ ที่อาศัยเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ซอฟแวร์ คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ การติดต่อสื่อสาร การบริหาร และการดำเนินงาน รวมทั้งเพื่อการศึกษาและการเรียนรู้ ซึ่งจะส่งผลต่อความได้เปรียบทางด้านเศรษฐกิจการค้า และการพัฒนาด้านคุณภาพชีวิต และคุณภาพของประชาชนในสังคม (ฤทัยชนนี สิทธิชัย, 2540, หน้า 8) เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง แนวความคิด ระบบ วิธี เครื่องมือเครื่องใช้ในการจัดเก็บประมวลผล ค้นคืน และเผยแพร่สารสนเทศ ได้แก่ คอมพิวเตอร์ ระบบสื่อสารข้อมูล และโทรคมนาคม  รวมทั้ง การประยุกต์ใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์สารสนเทศเหล่านั้นในงานสารสนเทศ หรืองานบริการด้านอื่น ๆ ซึ่งอาจแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ (ดวงพร เจียมอัมพร, 2541, หน้า 15-17)
           1. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (computer technology) หมายถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการเปิดใช้บริการคอมพิวเตอร์ทั้งในไมโครคอมพิวเตอร์มินนคอมพิวเตอร์ และเวิร์คสเตชั่น ในการรับข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูล การบันทึกข้อมูลจากภายนอกและมีการแปลงเป็นสารสนเทศโดยผ่าน input devices ต่าง ๆ ได้แก่ แป้นพิมพ์ (keyboard) สแกนเนอร์ (scanner) เป็นต้น
                 2. เทคโนโลยีทางด้านการสื่อสารคมนาคม (telecommunication technology) ได้แก่ โทรศัพท์ธรรมดา โทรศัพท์เคลื่อนที่ดิจิตอล (digital mobile telephone) วิทยุติดตามตัว (pager) เป็นต้น
                     3. เทคโนโลยีระบบสื่อสาร (communication system technology) หมายถึงระบบการสื่อสาร และเครือข่ายที่เป็นส่วนเชื่อมในการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็คทรอนิคส์ในรูปแบบข้อมูลดิจิตอล เช่นเครือข่ายโทรศัพท์ดิจิตอล ระบบสื่อสารเคเบิลใยแก้ว (fiber optic system) รวมถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบ WAN (wide area network) เช่น เครือข่าย Internet เป็นต้น





            °o.O_O.o° ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปกันว่า เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพในการพัฒนาประเทศ เป็นปัจจัยที่สำคัญที่ช่วยส่งเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ สังคมตลอดจนคุณภาพชีวิตของประชาชนทั้งนี้เพราะเทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยทำให้มนุษย์สามารถมองเห็นโลกที่อยู่รอบตัวได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล และทำให้มนุษย์เข้าใจในข้อมูลเหล่านั้น จึงช่วยส่งผลให้มนุษย์สามารถสร้างสรรค์วิธีในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้รวมถึงสามารถจัดการและควบคุมชีวิตสภาพแวดล้อมและงานของตัวเอง หรือแม้แต่สังคมและเศรษฐกิจของโลกได้ เทคโนโลยีสารสนเทศในประเทศไทยนั้น กล่าวได้ว่า ในปัจจุบันประเทศไทยเองก็ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เป็นกุญแจไปสู่การพัฒนาในด้านต่าง ๆ เช่น การศึกษา สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ ตลอดจนการบริหารงานของรัฐ ดังตัวอย่างต่อไปนี้ (ธนัสถ์ เกษมไชยานันท์, 2544, หน้า 13-15)



.☆❤`•. ด้านการศึกษา .☆❤`•.


         1. การเปิดใช้งานคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer-Aided Instruction--CAI) เป็นการเปิดใช้งานคอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการสอนและเรียนรู้
       2. การสอนทางไกลผ่านดาวเทียม ซึ่งช่วยยกระดับการศึกษาของพลเมือง โดยการกระจายความรู้ไปยังชนบทที่ห่างไกล ทำให้ประชาชนในชนบทได้รับความรู้มากขึ้นกว่าเดิม
        3. การสอนทางไกลระบบ video teleconference เป็นการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการสื่อสารสองทาง ผู้สอนและผู้เรียนอยู่ห่างไกลกันแต่สามารถถามตอบกันได้ทันที
         4. การจัดทำสารานุกรม หนังสือหรือฐานข้อมูลทางการศึกษา โดยใช้มัลติมีเดียหรือสือประสมที่สามารถแสดงได้ทั้งภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียงและข้อมูล
        5. การนำเทคโนโลยีฐานข้อมูลมาใช้ในงานห้องสมุดหรือศูนย์ข้อมูล เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับเอกสาร บทความ รายงาน หนังสือ ฯลฯซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกในการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ 





            ✿✿ ✿✿ เทคโนโลยี หมายถึง การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆ เช่น การนำเทคโนโลยีมาช่วยทางด้านการเกษตร เทคโนโลยีด้านการแพทย์  เทคโนโลยีทางการศึกษา รวมๆ แล้วคำๆ นี้ก็คือการนำความรู้ในสิ่งต่างๆ ที่ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมาแล้วนำมาประยุกต์ใช้กับงานด้านอื่นๆ เพื่อให้มีความสอดคล้องต้องกันและนำไปสู่ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีต่อไป    

                                 
 


          ♥❤♥❤ สารสนเทศ คือข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลคัดแยกจัดเรียงเป็นระบบแล้วพร้อมที่จะนำมาใช้งานและใช้ประโยชน์ได้ตรงตามเป้าหมายและความต้องการของผู้ใช้งานและพัฒนาให้ก้าวหน้าสู่ความเจริญของประเทศชาติในวันข้างหน้า
 

          ❁❀✿❁❀✿   3 คำนี้ เมื่อนำมารวมกันแล้วจึงมีความหมายว่า การคิด การพัฒนา การนำมาประยุกต์ใช้ ให้เข้ากับสิ่งที่มีอยู่ให้ดีขึ้นและรวมถึงการทำสิ่งที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นให้มันเป็นไปได้ ดังที่เราได้เห็นสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในยุกต์ปัจจุบัน นี้แหละคือนวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ ❁❀✿❁❀✿